สายสกุล ของ พระยาชัยสุนทร (โคตร)

  • วงศ์กาฬสินธุ์ ต้นสกุลคือเจ้าอุปฮาด(หมาป้อง)ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร (โสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 4 คนเท่าที่ปรากฏคือ 1)พระยาไชยสุนทร(เจียม)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 2)พระประเทศธานี(ลาว) อุปฮาดเมืองสกลนคร 3)พระยาไชยสุนทร(จารย์ละ)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 4)พระยาไชยสุนทร(หล้า)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 เป็นต้นและ พระยาไชยสุนทร(หล้า)เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 สมรสกับอัญานางคำแดง มีบุตรด้วยกัน 10 คน ได้แก่ 1)นางขาว 2)พระยาไชยสุนทร(โคตร) 3)พระศรีวรวงศ์(สี) 4)พระไชยราษฎร์(ลาด) 5)พระอุปสิทธิ์(สีน) 6)พระโพธิสาร(คำ) 7)นางหมอก เป็นต้น เช่น พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 สมรสกับคุณหญิงพา มีบุตรด้วยกัน 10 คน คือ 1)ท้าวหนู 2)พระไชยสุริยมาตย์(สุรินทร์) 3)พระไชยแสน(ทองอินทร์) 4)พระศรีธงไชย(คำตา) 5)หลวงไชยสวัสดิ์(คำแสน) 6)ขุนไชยสาร(จารย์เฮ้า) 7)นางข่าง 8)นางคะ 9)นางบัวสา 10)ท้าวคำหวา เป็นต้นและท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”วงศ์กาฬสินธุ์”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดสกลนคร และนามสกุล”ณ กาฬสินธุ์” เป็น 1 ใน 21 นามสกุล ณ พระราชทานครั้งแรกของประเทศไทย นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1190 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระราชทานแก่พระยาไชยสุนทร (เก) กรมการพิเศษเมืองกาฬสินธุ์ กระทรวงมหาดไทย มณฑลร็อยเอ็จ อดีตเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2457 ทวดชื่อพระไชยสุนทร (หมาสุย) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ปู่ชื่อพระยาไชยสุนทร (หนูม้าว) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ลำดับที่ 8 บิดาชื่อราชบุตร (งวด) เชื้อเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เขียนเป็นอักษรโรมันว่า na Kalasindhu ตามประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 15 เล่มที่ 31 หน้าที่ 64 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร รับพระบรมราชโองการ ซึ่งเดิมต้องไปขอใช้และขึ้นนามสกุล “ณ กาฬสินธุ์” กับพระยาไชยสุนทร(เก) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 11 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่เนื่องพระราชบัญติตั้งนามสกุลห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้านามสกุลและตั้งถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าใช้ในนามสกุลเท่านั้น ด้วยมีบุตรหลานและญาติพี่น้องจำนวนมากที่มาอาศัยอยู่เมืองสกลนครนานแล้วเป็นการยากที่จะอพยพไปขอใช้นามสกุล “ณ กาฬสินธุ์” ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ คุณหญิงสุวรรณภรรยาพระยาประจันตประเทศธานี(โง่นคำ) เจ้าเมืองสกลนคร ผู้มีศักดิ์เป็นญาติพี่น้องจึงขอให้มาใช่นามสกุล “พรหมสาขา ณ สกลนคร” ด้วยกัน แต่ด้วยความระลึกถึงบรรพชนที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ที่มารักษาพระธาตุเชิงชุมเมืองสกลนครตามพระบัญชาของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตนั้น จึงรวบรวมญาติพี่น้องผู้มีบรรดาศักดิ์ประกอบด้วย พระศรีธงไชย(คำตา) หลวงวรบุตร(บุญจันทร์) หลวงไชยจักร(จารย์โหล) ขุนแสนสะท้าน(กอ) ขุนโยธาชาแสน(เลา) ขุนวาปีพิทักษ์(จูม) ขุนนาวาพาณิชย์(จี)และญาติพี่น้องผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนจึงพากันก่อตั้งนามสกุล “วงศ์กาฬสินธุ์” ที่จังหวัดสกลนครตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ใกล้เคียง

พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) พระยาชัยสุนทร (หมาแพง) พระยาชัยสุนทร (โคตร) พระยาชัยสุนทร (เจียม) พระยาชัยสุนทร (พั้ว) พระยาชัยสุนทร (ทอง) พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ) พระยาชัยสุนทร (กิ่ง) พระยาชัยสุนทร (หล้า)